แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตรที่วางอยู่บนทฤษฎีจะสะท้อนให้เห็นลักษณะของหลักสูตรที่ยึดสนามเป็นหลัก แต่ก็ยังมีลักษณะเฉพาะในด้านเนื้อหา ในด้านกิจกรรม และจะเน้นที่การแก้ปัญหาการค้นคว้า ความเชื่อและความคิดของเพียเจท์และบรูเนอร์ จะมีความแตกต่างกันในเรื่องความพร้อมของผู้เรียน เพียเจท์ไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ของการเร่งให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเร่งเพราะจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เพราะผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีและเร็วขึ้นก้ต่อเมื่อมีความพร้อม แต่สำหรับบรูเนอร์กล่าวไว้ว่า ไม่ว่าวิชาใดที่สามารถนำมาสอนให้แก่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ ขั้นของพัฒนาการ จึงทำให้ความพร้อมของเด็กไม่มีความจำเป็นเลยต่อการจัดเนื้อหาของหลักสูตร
ความเชื่อและความคิดของเพียเจท์เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาทางสติปัญญาของเด็ก จะช่วยนักพัฒนาหลักสูตรได้เป็นอย่างมากในการกำหนดเนื้อหา และกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละวัยเช่นเดียวกับแนวคิดของการพัฒนาทางสติปัญญาของบรูเนอร์
แนวคิดของคาร์ล โรเจอร์
คาร์ล อาร์ โรเจอร์ จะเน้นการเรียนรู้ในประเด็นที่ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าผู้เรียนมีแรงจูงใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ในสิ่งนั้น บรรยากาศของการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่สนับสนุนกิจกรรมการสอนที่ปฏิบัติกันอยู่เพราะเป็นการบังคับให้ผู้เรียนเรียนในสิ่งที่ครูอยากจะให้เขารู้ จึงมีความเชื่อว่า การสอนหรือการถ่ายทอดความรู้จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อสังคมหยุดอยู่กับที่ไม่เปลี่ยนแปลง คาร์ล โรเจอร์ จะไม่เน้นการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เน้นถึงบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. ความจริง หมายถึง ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้จะต้องประพฤติและปฏิบัติตนให้เป็นไปตามความเป้นจริงตามธรรมชาติ หรือแก่นแท้ของตนเอง
2. การยอมรับและการให้เกียรติผู้เรียน หมายถึง ครูหรือผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ จะมีทัศนคติเกี่ยวกับการยอมรับ ไว้ใจ และให้เกียรติต่อความรู้สึก ความเชื่อ ความคิดเห็นของผู้เรียน และผู้เรียนต้องยอมรับว่าบุคคลทุกคนต่างก็มีความหมายในตัวของตนเอง
3. ความเข้าใจ จะเป็นตัวเสริมสร้างบรรยากาศที่ดี เป็นความเข้าใจที่เกิดจากความเป็นกลาง ไม่มีอคติ ไม่มีการประเมินเข้ามาเกี่ยวข้อง ในทำนองรู้จักเอาใจเรามาใส่ใจเขา ไม่ตำหนิติเตียน
แนวคิดของอาเทอร์ โคมส์
อาเทอร์ เป็นศิษย์คนสำคัญของคาร์ล โรเจอร์ ที่พยายามเผยแพร่การเรียนรู้ด้านแรงจูงใจ และเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้เชิงเชิงจิตลักษณะเชื่อว่าเจตคติ ความรู้สึก และอารมณ์ของนักเรียนมีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน 4 ประการ ดังนี้
1. สมององคนเราเกี่ยวข้องกับความหมายโดยตรง
2. การเรียนรู้คือการค้นพบความหมายของแต่ละคน
3. ความรู้สึกและอารมณ์เป็นเสมือนดัชนีของความหมาย
4. องค์ประกอบเชิงความรู้สึกที่ใช้ในการเรียนรู้
อาเทอร์ โคมส์ ได้ตั้งข้อสังเกตและข้อเตือนใจไว้ว่า ในบางครั้งความจริงเกิดขึ้นเหมือนกันที่ผู้สนับสนุนความสำคัญของความหมายได่ทุ่มเทและยึดอยู่กับความเข้าใจตนเอง ค่านิยม หรือความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งมากกว่าลักษณะปกติของหลักสูตร และจะทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่วงการจัดการศึกษาเชิงจิตลักษณ์ แต่ความผิดพลาดยังเสียหายน้อยกว่าความผิดพลาดของคนที่ไม่ยอมรับ และไม่ทราบถึงธรรมชาติหน้าที่สำคัญของความรู้สึก และอารามณ์ที่เกิดจากการวิจัยและทฤษฎี
แนวคิดของกลุ่มแรงจูงใจ จะมีประโยชน์อย่างมากในการวางแผนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิผลคือ เน้นบรรยากาศการเรียนการสอนที่ให้ความสบายใจแก่ผู้เรียน และการยอมรับคุณค่าของกันและกันระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนด้วยกัน นอกจากนี้การจัดหลักสูตรโดยอาศัยแนวคิดของกลุ่มแรงจูงใจจะเน้น และให้ความสำคัญในการปลูกฝังทางด้านจิตลักษณะ ได้แก่ ความรู้สึก เจตคติ และบุคลิกภาพที่ดี (ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล, ม.ป.ป.:109-115)
บรรณานุกรม
ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล. (ม.ป.ป.). การพัฒนาหลักสูตรจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ.
กรุงเทพฯ: อักษรบัญฑิต.
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
ในการศึกษารูปแบบ หรือทฤษฎีการวางแผน หรือพัฒนาหลักสูตร จะพบว่ามีคำหลายคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน และสามารถใช้แทนกันได้ ได้แก่ Curriculum – Planning, Curriculum Development, Curriculum Construction, Curriculum – lmprovement, และ Curriculum Revision มีความหมายแตกต่างกันดังนี้
Curriculum – Planning หมายถึง กระบวนการในการสร้างหลักสูตร กล่าวถึงหลักสูตรในรูปสิ่งที่คาดหวัง หรือที่เป็นแผนอย่างหนึ่ง
Curriculum Development หมายถึง การสร้าง Curriculum Materials รวมทั้งสื่อการเรียนที่นักเรียนใช้ ไม่ใช่การวางแผนหลักสูตรแต่จะเป็นผลที่เกิดจากการวางแผนหลักสูตร Curriculum Construction และ Curriculum Revision เป็นคำที่ใช้มาแต่ดั้งเดิมหมายถึง การเขียนและการปรับปรุงรายวิชาที่ศึกษา
Curriculum – lmprovement หมายถึง การปรับปรุง หรือการวางแผนหลักสูตรในส่วนที่เป็นเป้าประสงค์มากกว่าที่หมายถึง กระบวนการในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร
ทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน
ในกรณีที่มองหลักสูตรว่า เป็นวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรก็จะกล่าวถึงในการเลือกเนื้อหา การจัดการเนื้อหาลงในระดับชั้นต่างๆ เซเลอร์ (J. Galen Saylor) และอเล็กซานเดอร์ (William M. Alexander) ได้สรุปสูตรทั่วไปสำหรับการพัฒนาหลักสูตรแต่ละวิชาและเนื้อหาสาระดังนี้
1. ใช้การพิจารณาจากผู้เชื่ยวชาญในการกำหนดหรือตัดสินว่าจะสอนวิชาอะไร
2. ใช้เกณฑ์บางอย่าง ในการเลือกเนื้อหาสำหรับกลุ่มผู้เรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
3. วางแผนวิธีการสอนที่เหมาะสม และใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรอบรู้ในเนื้อหาที่เลือกมาเรียน
ทฎษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
ไทเลอร์ (Ralph W. Tyler) ได้ให้หลักเกณฑ์และเหตุผลไว้ว่า ในการพัฒนาหลลักสูตรและวางแผนการสอนนั้น จะต้องตอบคำถาม 4 ประการ ดังนี้
1. มีจุดประสงค์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่โรงเรียนควรแสวงหา
2. มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่สามารถจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้นั้น
3. จะจัดระบบประสบการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
4. จะประเมินประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
คำถามทั้ง 4 ประการนี้ ตรงกับองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร 4 ด้าน ตามลำดับดังนี้ 1. การตั้งเป้าประสงค์ 2. การเลือกเนื้อหา 3. การสอน และ 4. การประเมินผล
ตามรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ การพัฒนาหลักสูตรจะต้องเป็นไปตามลลำดับขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร เริ่มด้วยการกำหนดจุดประสงค์ชั่วคราวโดยอาศัยข้อมูลจากการศึกษาสังคม ศึกษาผู้เรียน และข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชามาช่วยกำหนดจุดประสงค์อย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าที่จะจัดเข้าไว้ในหลักสสูตรได้ทั้งหมด จึงควรกลั่นกรองให้เหลือไว้เฉพาะจุดที่สำคัญและสอดคล้องกัน เป็นจุดประสงค์ขั้นสุดท้าย หรือจุดประสงค์ที่ใช้จริง ในการพิจารณากลั่นกรองจุดมุ่งหมายชั่วคราวนั้น จะใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้และหลักปรัชญญามาประกอบการกลั่นกรอง
ขั้นที่ 2 การเลือกประสบการณ์การเรียน หลังจากกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตรแล้ว ขั้นต่อมา ทำการเลือกประสบการณ์การเรียน อันเป็นสื่อที่จะทำให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ในการเลือกประสบการณ์การเรียนจะต้องคำนึงถึง ลำดับก่อนหลัง ความต่อเนื่องและบูรณาการ (Integraty) ของประสบการณ์เหล่านั้น
ขั้นที่ 3 การประเมินผล เป็นขั้นสุดท้ายซึ่งจะทำให้ทราบว่าประสบการณ์การเรียนที่จัดขึ้นนั้นบรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้เพียงใด
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
ทาบา (Hilda Taba) ได้ให้ความเห็นว่า หลักสูตรทั้งหลายจะต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ 1. จุดประสงค์ 2. เนื้อหาวิชา 3. กระบวนการเรียน 4. การประเมินผล องค์ประกอบพื้นฐานต่างก็มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน บา ได้กล่าวถึงลำดับขั้นในการพัฒนาหลักสูตรไว้ 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม รวมทั้งศึกษาพัฒนาการของผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนธรรมชาติของความรู้ เพื่อนำมาเป้นแนวทางในการกำหนดจุดประสงค์
ขั้นที่ 2 กำหนดจุดประสงค์ของการศึกษา โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1 เป็นหลักในการพิจารณา
ขั้นที่ 3 คัดเลือกเนื้อหาวิชาที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับความต้องการและความจำเป็นของสังคม โดยคัดเลือกมาให้เรียนโดยเฉพาะที่ตรงกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ขั้นที่ 4 จัดระเบียบ ลำดับ และขั้นตอนของเนื้อหาวิชาที่คัดเลือกมา
ขั้นที่ 5 คัดเลือกประสบการณ์การเรียน โดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และวิธีสอนแบบต่างๆ เป็นแนวทาง
ขั้นที่ 6 จัดระเบียบ ลำดับ และขั้นตอนของประสบการณ์การเรียน
ขั้นที่ 7 ประเมินผล เป็นขั้นที่จะทำให้ทราบว่าการพัฒนาหลักสูตรประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยปกติจะพิจารณาจากผลของการใช้หลักสูตร นั่นคือ พิจารณาว่าผู้เรียนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียนการสอนมีความเหมาะสมเพียงใด
ขั้นที่ 8 ตรวจสอบความคงที่ และความเหมาะสมในแต่ละขั้นตอน โดยตรวจสอบตามแนวของคำถามที่มีลักษณะดังนี้
- เนื้อหาวิชาที่จัดขึ้นเกี่ยวข้องกับจุดประสงค์หรือไม่
- ประสบการณ์การเรียนได้ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามจุดประสงค์หรือไม่
- ประสบการณ์การเรียนที่จัดขึ้นมีความเหมาะสมเพียงใด
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเคอร์
เคอร์ (John F. Kerr) เสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร เรียกว่าเป็น Operational Model มีจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้มาจากแหล่งข้อมูล 3 แหล่ง ได้แก่
1. ระดับพัฒนาการ ความต้องการ และความสนใจของนักเรียน
2. สภาพ ปัญหา และความต้องการของสังคมที่นักเรียนต้องเผชิญ
3. ธรรมชาติของเนื้อหาวิชาและชนิดของการเรียนรู้
นำจุดมุ่งหมายมาคัดเลือกและจัดอันดับ โดยนำเอารูปแบบการจำแนกประเภทจุดประสงค์ทางการศึกษาของบลูม (Benjamin S. Bloom) และคณะ ที่แบ่งจุดประสงค์ทางการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธวิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษพิสัย มาช่วยในการพิจารณาจำแนกจุดประสงค์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ขั้นต่อไป ได้แก่ การจัดประสบการณ์การเรียน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาวิชาที่จัดไว้แล้ว และในการจัดประสบการณ์การเรียนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ อีก เช่น ความพร้อมของผู้เรียน ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน วิธีสอน เป็นต้น
ขั้นสุดท้าย ได้แก่ การประเมินผล ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร โดยใช้วิธีการหลายวิธี เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ เป็นต้น
เคอร์ได้ใช้ลูกศรโยงระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรเป็นการเน้นว่า องค์ประกอบเหล่านั้นจะมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวี
เลวี (Arich Lewy) ได้กล่าวถึงขั้นตอนและงานสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวีแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตร ขั้นเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการเรียน และขั้นดำเนินการ
1. ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตร แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนย่อยๆ ได้แก่ การเลือกจุดมุ่งหมาย
เลือกเนื้อหาวิชา เลือกกิจกรรมการเรียนการสอน
2. ขั้นเตรียมววัสดุ อุปกรณ์ประกอบการสอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นย่อยๆ ได้แก่ การสร้างวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการสอน จัดวัสดุอุปกรณ์ตามรายวิชา ทดลองใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นใหม่ และปรับปรุงแก้ไข
3. ขั้นดำเนินการ แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนย่อยๆ ได้แก่ การเตรียมจัดระบบงาน ฝึกอบรมครู ปรับปรุงแก้ไขระบบการสอน ประสานงานกับฝ่ายวิชาการ ควบคุมคุณภาพ ปรับปรุงและนำมาใช้ใหม่
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ สสวท.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ทำการพัฒนาหลักสูตรวิทายาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาและประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2519 ในการพัฒนาหลักสูตรนอกจากจะปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ยังพัฒนาด้านแผนการเรียนการสอนและการวัดผลอีกด้วยหลักของการพัฒนาหลักสูตร
จากรูปแบบและทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร สรุปเป็นหลักของการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
1. ใช้พื้นฐานจากประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคม จิตวิทยา และวิชาความรู้ต่างๆ
2. พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยวิเคราะห์ปัญหาความต้องการและความจำเป้นต่างๆ ของสังคม
3. พัฒนาให้สอดคล้องกับระดับพัฒนาการ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
4. พัฒนาให้สอดคล้องกับหลักของการเรียนรู้
5. ในการเลือกและจัดประสบการณ์การเรียน จะต้องพิจารณาความเหมาะสมในด้านความยากง่าย ลำดับก่อนหลัง และบูรณาการของประสบการณ์ต่างๆ
6. พัฒนาในทุกจุดอย่างประสานสัมพันธ์กัน ตามลำดับจากจุดประสงค์ สาระความรู้และประสบการณ์ กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล
7. พิจารณาถึงความเป็นไปได้สูงในทางปฏิบัติ
8. พัฒนาอย่างเป็นระบบ
9. พัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง
10. มีการวิจัยติดตามผลอยู่ตลอดเวลา
11. ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ
12. อาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย (บุญชม ศรีสะอาด, 2546:63-73)
บรรณานุกรม
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร.
กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ปรัชญาการศึกษาหลักสูตร
ปรัชญาการศึกษาหรือทฤษฎีทางการศึกษา มีอิทธิพลและมีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรเป็นอย่างมาก กล่าวคือ การที่นักพัฒนาหลักสูตรจะพิจารณาแลพตัดสินใจลงไปว่า จุดหมายของหลักสูตรควรจะเป้นอย่างไร จะกำหนดให้เรียนเนื้อหาอะไร ตลอดจนวิธีการเรียนการสอนและการประเมินผล จะต้องอิงหรืออาศัยความรู้และความคิดเกี่ยวข้องและพาดพิงปรัชญาและปรัชญาการศึกษาทั้งสิ้น โดยมีกลุ่มธรรมชาตินิยมเชิงจิตนิยม ได้ศึกษาลึกซึ้งลงไปจึงได้เสนอแนวความคิดทั้ง 6 ประการดังนี้
1. ปรัชญาการศึกษากลุ่มนิรันตรนิยม
แนวความคิดหลักทางการศึกษาของนิรันตรนิยม ได้แก่ ความเชื่อว่าหลักการของความรู้จะต้องมีลักษณะที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง รากฐานนี้มาจากงานของ เซนท์ โทมัสอะไควนัส ย้ำว่าพลังแห่งเหตุผลของมนุษย์ผนวกกับแรงศรัทธา คือเคื่องมือแห่งความรู้ โทมัสให้ความสำคัญของชีวิตประจำวันของมนุษย์และคุณงามความดีที่อยู่เหนือธรรมชาติ เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ได้มาจากประสบการณ์ ดังนั้นการศึกษาจะต้องมุ่งที่การเสริมสร้างสติปัญญาในส่วนต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะมีความเข้าใจว่า จิตของมนุษย์ได้รับมอบความหมายมาจากธรรมชาติในเชิงชีววิทยา การศึกษาจึงต้องแสวงหาสัจธรรมที่เป็นนิรันดร และจะต้องไม่ถูกชักนำให้หลลงไปกับความต้องการในปัจจุบันในลักษณะฉาบฉวยและชั่วครั้งชั่วคราว
2. ปรัชญาการศึกษากลุ่มสารัตถนิยม
สารัตถนิยมเป็นชื่อของปรัชญาการศึกษาที่กำหนดขึ้นมาโดย วิลเลียม ซี แบกเลย์ ได้นำความคิดและความเชื่อเรียบเรียงเป้นรายงานเสนอต่อนักการศึกษาในปี ค.ศ.1938 ทัศนะนี้ได้ถูกนำไปปฏิบัติในโรงเรียนกันอย่างแพร่หลาย กลุ่มสารัตถนิยมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนที่มาจากพวกจิตนิยม และสัจนิยมการผนึกกำลังและความคิดจึงไม่เป็นกลุ่ม จึงพิจารณาถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของพวกสารัตถนิยมจำเป็นจะต้องตรวจสอบด้วยทฤษฎีของกลุ่มจิตนิยม และสัจนิยม จิตนิยมเป็นการจำลองของจิตที่มาจากพระเจ้า ดังนั้นจึงได้ความรู้มาโดยวิธีที่เกิดจากญาณของตนเอง สารัตถนิยมสนับสนุนการศึกษาทุกรูปแบบที่นำไปสู่การฝึกจิตการพัฒนาความสามารถในการจำ การหาเหตุผลและการทำความเข้าใจจึงมีความสำคัญมาก
3. ปรัชญาการศึกษากลุ่มพิพัฒนนิยม
พิพัฒนนิยมเป็นปรัชญาการศึกษาของอเมริกา นับตั้งแต่แนวคิดนี้ได้อุบัติขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1925 เป็นต้นมา แนวคิดนี้ก็ได้เป็รทัศนะทางการศึกษาที่มีอิทธิพลมากที่สุดในอเมริกา ความเชื่อพื้นฐานคือการต่อต้านอำนาจที่เป็นเผด็จการหรือการบังคับขู่เข็ญ และมองเห็นว่าประสบการณ์ของมนุษย์เป็นพื้นฐานไปสู่ความรู้ พิพัฒนนิยมเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้อยู่ในสภาพที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้น จึงไม่มีการเน้นถึงความรูที่มีลักษณะถาวร แม้ว่าการริเริ่มขบวนการของพิฒนนิยมมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยมของ ชาร์ล เอส เพิร์ส และวิลเลียม เจมส์ หลักปรัชญาของพิพัฒนนิยมในลักษณะที่เป็นปรัชญาการศึกษาสมัยใหม่ ส่วนใหญ่มาจากงานของ จอห์น ดิวอี้
ดิวอี้ ถือว่าประชาธิปไตยต้องการพลเมืองที่มุ่งมั่น และมีความสามารถในการสะท้อนความคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของสังคม และเชื่อว่า ความก้าวหน้าของมนุษย์จะไม่เกิดขึ้น ถ้าการตัดสินใจเชิงวิทยาศาสตร์แยกออกมาจาการตัดสินทางจริยธรรม และเชื่อว่าหน้าที่ของการศึกษาคือ การส่งเสริมให้มนุษย์เจริญเติบโตตามศักยภาพของตน เพื่อว่าสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนี้จะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้
4. ปรัชญาการศึกษากลุ่มปฏิรูปนิยม
นักพิพัฒนนิยมมีความเห็นว่า แนวคิดขิงพิพัฒนนิยมมีลักษณะที่เป็นกลางมากเกินไป จึงไม่สามารถนำไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษาในส่วนที่จำเป็นได้ พวกที่ต้องการแสวงหาอุดมการณ์ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมได้ตรงกว่านี้ และสร้างสังคมที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่ จึงถูกแยกออกจากพิพัฒนาการ เป็นแนวความคิดขึ้นมาใหม่ เรียกว่า “ปฏิรูปนิยม”
ความคิดของปฏิรูปนิยมมีอยู่ว่า การศึกษาควรจะเป็นเครื่องมือโดยตรงในการปฏิรูปการศึกษา เบิร์น ได้สรุปเห็นจุดเน้นของปฏิรูปนิยมว่า เรากำลังอยู่ในท่ามกลางวิกฤตของโลก การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิผลต่อการสร้างระเบียบสังคมของโลกและโรงเรียนของโลกควรจะเป็นกลไกที่มีพลังในการสร้างมนุษย์โลกและวัฒนธรรมของเขาขึ้นมา พวกปฏิรูปนิยมมองโรงเรียนว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างระเบียบสังคมขึ้นมาใหม่ ดังนั้น การจัดหลักสูตรตามแนวคิดของปฏิรูปนิยม จึงเน้นเนื้อหาสาระและววิธีการที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงความรับผิดชอบที่จะปฏิรูปและสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมา ทั้งในระดับชุมชน ประเทศ และระดับประเทศ
5. ปรัชญาการศึกษากลุ่มอัตถิภาวนิยม
การค้นหาความหมายของการมีอยู่ของมนุษย์ในจักรวาล การร้องขอให้ได้มาซึ่งความสำคัญส่วนบุคคลในยุคเทคโนโลยี และความจำเป็นที่จะต้องรู้จักตนเองของบุคคลในยุคของเครื่องจักร นำไปสู่การทำให้เกิดความคิดตามแนวของอัตถิภาวนิยม จากรากฐานความคิดที่ได้มาจากผลงานของนักปรัชญาและชาวเทววิทยาชาว Danish ที่ชื่อ Soren Kierkegaard ความคิดของพวกอัตถิภาวนิยมก็ได้แพร่หลายและขยายออกไปอย่างรวดเร็ว
พวกอัตถิภาวนิยมยืนยันว่า วิทยาศาสตร์เป็นวิธีการที่ไม่เพียงพอสำหรับพวกเขาเพราะว่า ความคิดทางวิทยาศาสตร์มักจะเกี่ยวกับการทำสิ่งต่างๆ ให้เป็นปรนัยและไม่ยอมรับการรับรู้ทางญาณและการปฏิสัมพันธ์ของตนเองที่ทางปรัชญาได้กำหนด ทางพวกอัตถิภาวนิยมให้ความสนใจและผูกพันอยู่กับการตรวจสอบตนเองที่อยู่เหนือเหตุผล เพราะว่าเขาไม่สามารถค้นหาคำตอบของคำถามสูงสุดเกี่ยวกับความหมายของการเกิดมีอยู่ได้จากเหตุผล
6. ปรัชญาการศึกษากลุ่มธรรมชาตินิยมเชิงจินตนิยม
การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษาแบบพิพัฒนนิยม ทำให้เห็นชัดถึงการเกิดความเชื่อในเรื่องการเน้นผู้เรียนเป้นศูนย์กลาง ในการปฏิเสธความเชื่อเก่าๆ เกี่ยวกับเด็กๆ ที่ว่าคือ ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ และการต่อต้านวิธีการเก่าๆ ของการศึกษาที่ลักษณะเชิงบังคับและใช้อำนาจ
นีล ถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวคิดแบบพิพัฒนนิยมเชิงจินตนิยมรุ่นแรกๆ คลื่อนลูกใหม่ของพวกจินตนิยมก็ได้นำความคิดเดียวกันไปบอกชาวอเมริกันว่าศักยภาพตามธรรมชาติของเด็กสำหรับการศึกานั้น ได้ทำลายลงแล้วโดยโรงเรียน
กูดแมน ได้ประกาศว่า “วัตถุประสงค์ของการสอนประถมศึกษาจนถึงอายุ 12 ขวบ คือทำเพื่อชะลอการเรียนรู้ทางสังคม เพื่อป้องกันมิให้เด็กเจริญเติบโตอย่างเสรีเราจึงต้องลดการเรียนในโรงเรียนลงโดยเร็ว เพราะว่าการยืดเวลาคุ้มครองเด็กเป็นการขัดต่อธรรมชาติและการเจริญเติบโตของเด็ก” นักการศึกษาหัวก้าวหน้าได้โจมตีว่า โรงเรียนเป็นเครื่องมือทางสังคมที่จะคงไว้ซึ่งความชั่วร้ายทั้งหลายที่อิงกับระบบแสวงหากำไร คอโซล ไปไกลถึงขนาดความเชื่อมโยงความโหดร้ายในเวียตนามกับการเรียนรู้ที่ปลูกฝังให้แก่นักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา โดยมองข้ามไปว่าวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมศึกษาเป็นแหล่งสำคัญที่ทำการต่อต้านสงคราม (ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล, ม.ป.ป.:39-54)
บรรณานุกรม
ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล. (ม.ป.ป.). การพัฒนาหลักสูตรจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ.
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาของชาติ ถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างคนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันในเวทีโลก ไม่ว่าจะหลักสูตรใดก็ตาม หากนำไปใช้แล้วพบว่ามีข้อจำกัดบางประการก็จำเป็นต้องมีการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เช่นเดียวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หลังการนำไปใช้ระยะหนึ่ง จากการศึกษาวิจัยพบว่า มีปัญหาบางประการ เช่น ด้านตัวชี้วัดหรือคุณลักษณะความรู้ความสามารถของผู้เรียนภายหลังจากเรียนจบแต่ละช่วงชั้นแล้วยังขาดความชัดเจน อีกทั้งครูผู้สอนโดยเฉพาะครูในโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งมีอยู่จำนวนมากไม่สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ได้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จัดทําขึ้นเพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานระดับท้องถิ่นและสถานศึกษานําไปเป็นกรอบและทิศทางพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน จากข้อค้นพบในการศึกษาวิจัยและติดตามผล การใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ที่กล่าวถึง ประกอบกับข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคนในสังคมไทย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่ 1 จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มีความเหมาะสม ชัดเจน ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพัฒนาประเทศพื้นฐานในการดำรงชีวิต การพัฒนาสมรรถนะและทักและกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตร การเรียนการสอนในแต่ละระดับ นอกจากนั้นได้กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีไว้ในหลักสูตรแกนกลาง และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาเพิ่มเติมเวลาเรียนได้ตามความพร้อมและจุดเน้น อีกทั้งได้ปรับกระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียน เกณฑ์การจบการศึกษาแต่ละระดับ และเอกสารแสดงหลักฐานทางการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และมีความชัดเจนต่อการนำไปปฏิบัติดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนำไปสู่การปฏิบัติแต่ยังคงยึดมาตรฐานการเรียนรู้และหลักการเดิม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เปลี่ยนแปลงมาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ซึ่งกําหนดจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตดี มีความสามารถแข่งขันในเวทีโลก ให้สถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. เพิ่มวิสัยทัศน์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและปรับจุดมุ่งหมายหลักสูตรให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้สถานศึกษาจัดทำวิสัยทัศน์ของหลักสูตรในระดับสถานศึกษา แต่ขาดการกำหนดวิสัยทัศน์ในระดับชาติ ทำให้เป้าหมายทิศทางของการจัดการศึกษาขาดความเป็นเอกภาพ ในการปรับปรุงจึงมีการกำหนดวิสัยทัศน์หลักสูตรในระดับชาติขึ้นเพื่อให้เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนตรงกันในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาชนของชาติ ดังนี้ "หลักสูตรแกกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ" โดยมีจุดมุ่งหมายพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การมีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย การมีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข 2. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเดิมไม่มีการกล่าวถึงสมรรถนะ หลักสูตรใหม่ เพิ่มสมรรถนะสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน มุ่งเน้นให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 ด้าน คือ ความสามารถในการสื่อสาร การคิดการแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี โดยครูผู้สอนต้องปลูกฝังและพัฒนาให้เกิดกับผู้เรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3. ปรับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรเดิมไม่มีการกล่าวถึง หลักสูตรใหม่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ลักษณะอันพึงประสงค์ประกอบด้วย รักชาติ ศาสนา กษัตริย์, ซื่อสัตย์ สุจริต,มีวินัย, ใฝ่เรียนรู้, อยู่อย่างพอเพียง, มุ่งในการทํางาน, รักความเป็นไทย, มีจิตสาธารณะสถานศึกษาสามารถกําหนดลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมได้โดยมุ่งพัฒนาให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก คือ รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ 4. ปรับตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นตัวชี้วัดชั้นปี ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ รวมทั้งลักษณะของผู้เรียนใน แต่ละระดับชั้นตัวชี้วัดนําไปใช้ในการกําหนดเนื้อหา จัดทําหน่วยการเรียนรู้การจัดการสอนเป็นเกณฑ์สําคัญสําหรับวัดผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน ตัวชี้วัดมี 2 อย่างคือ ตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้น ตัวชี้วัดชั้นปีใช้กับ ป.1 -ม.3 ตัวชี้วัดช่วงชั้นใช้กับ ม.4- ม.6 โดยการกำหนดตัวชี้วัดชั้นปีสำหรับการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพ และมีความชัดเจนในการจัดการเรียนรู้และการประเมินผลในแต่ละระดับชั้น รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา เพราะเดิมมีการกำหนดมาตรฐานช่วงชั้นกว้าง ๆ แล้วให้โรงเรียนกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังแต่ละปีเอง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและมีความแตกต่างระหว่างหลักสูตรของสถานศึกษาแต่ละแห่งเป็นอย่างมาก 5. การกำหนดกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล โดยคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดหลักสูตรใหม่มี 8 กลุ่มสาระ และ 67 มาตรฐาน 6. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองตามศักยภาพ เสริมให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัยสร้างจิตสํานึก อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มี 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมพัฒนาสังคมและสาธารณะประโยชน์ กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนกิจกรรมนักเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีวินัย เป็นผู้นําและผู้ตามที่ดี เช่น ลูกเสือ เนตรนารียุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร กิจกรรมชุมนุมหรือชมรมกิจกรรมพัฒนาสังคมและสาธารณะประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะ เช่นกิจกรรมอาสาพัฒนาต่างๆ การมุ่งเน้นแต่ละระดับป.1-ป.6 เน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคํานวณ การคิดพื้นฐานการติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและพื้นฐานการเป็นมนุษย์ เน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ 7. เวลาเรียน ป.1-ป.6 จัดการเรียนเป็นรายปี เรียนวันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง กําหนดให้กิจกรรมพัฒนา ผู้เรียนทั้ง 3 กิจกรรมในชั้นป. 1-ม.3 ปีละ 120 ชั่วโมง และกําหนดให้สถานศึกษาจัดสรรเวลากิจกรรมพัฒนาสังคมและสาธารณะประโยชน์ ในขั้น ป.1-ป.6 รวม 60 ชั่วโมง(ปีละ 10 ชั่วโมง)การจัดการเรียน รู้เป็นกระบวนการสําคัญนําหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติผู้สอนต้องพยายามคัดสรรการเรียนรู้โดยช่วยให้ผู้เรียนเรียนผ่านสาระที่กําหนดไว้ในหลักสูตรประกอบด้วย 1. หลักการจัดการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนสําคัญที่สุด โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และการพัฒนาสมองเน้นให้ความรู้และคุณธรรม 2. กระบวนการเรียนรู้ ในการจัดการผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝนพัฒนา ผู้สอนต้องทําความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ และสามารถเลือกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. การออกแบบการจัดการเรียนรู้ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจ แล้วพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ 8. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตั้งอยู่บนพื้นฐาน 2 ประการคือ ประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน และตัดสินผลการเรียนการประเมินตามตัวชี้วัดจะสะท้อนสมรรถนะผู้เรียน การประเมินมี 4 ระดับ คือ ชั้นเรียนสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาและชาติการประเมินในชั้นเรียนจะประเมินโดยครู ผู้เรียน เพื่อน หรือผู้ปกครองก็ได้ต้องใช้เทคนิคประสบการณ์หลากหลายและสม่ำเสมอ เช่น การซักถาม การสังเกต การตรวจการบ้านการใช้แบบทดสอบ ฯลฯ 9. เกณฑ์การวัดและการประเมินผลการเรียนผู้สอนต้องคํานึงถึงการพัฒนาผู้เรียนแต่ละคน เก็บข้อมูลสม่ำเสมอและต่อเนื่องระดับประถมศึกษาผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนดผู้เรียน ต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชาผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนการตัดสินผลจะให้เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือร้อยละก็ได้ การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้ระดับ ดีเยี่ยม ดี และ ผ่านการประเมินกิจกรรมและพัฒนาผู้เรียน ผ่านไม่ผ่านการรายงานผลการเรียน ต้องรายงานให้ผู้ปกครองทราบ เป็นระยะๆ อย่างน้อยภาคเรียนละครั้ง
บรรณานุกรม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก:http://learners.in.th/ /blog/art6/286286 สืบค้น 1 มีนาคม 2554.
เข้าถึงได้จาก:http://learners.in.th/ /blog/art6/286286 สืบค้น 1 มีนาคม 2554.